ยางไดอะแฟรม รูปถ้วย
(Cap Diaphragm rubber)

ไดอะแฟรมยาง รูปถ้วย (Cap Diaphragm rubber) ใช้งานกับการทนแรงดันของเครื่องด้วยโครงสร้างที่มีความต่างระดับสูง ทนแรงดันน้อย ซึ่งนับเป็นไดอะแฟรมยาง ที่ผลิตยากที่สุดชนิดหนึ่ง สามารถเสริมผ้าใบได้ ตั้งแต่ 1 ชั้น เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากแรงดัน

ทำไมต้องใช้ ยางไดอะแฟรม

ก่อนอื่นต้องรู้จักไดอะแฟรมปั้ม (Diaphragm Pump) กันก่อน เป็นปั้มสำหรับสูบจ่ายของเหลวที่มีความเป็นกรด-ด่างสูง, ของเหลวที่มีความหนืด หรือของเหลวที่มีตะกอนปนอยู่ด้วย โดยตัวปั้มจะส่งกำลังผ่านแผ่นยางไดอะแฟรม (Diaphragm Rubber) และแผ่นยางไดอะแฟรม มีหน้าที่ตัดแยกระบบของฝั่งเครื่องจักรออกจากฝั่งของเหล็ก เพื่อไม่ให้ของเหลวสัมผัสกับชิ้นส่วนสำคัญต่างๆ ของปั้มโดยตรง ปั้มไดอะแฟรมประกอบด้วย
1. แผ่นยางไดอะแฟรม (Diaphragm Rubber) โดยส่วนมากนิยมใช้เป็น
• แผ่นยางไดอะแฟรมแบบชิ้นเดียว (Single Diaphragm rubber)
• แผ่นยางไดอะแฟรมแบบ 2 ชิ้น (Double Diaphragm rubber) เพื่อสลับกันผลักไป-กลับด้วยแรงกดอากาศ ยางไดอะแฟรมฝั่งหนึ่งจะถูกดึงเข้าสู่แกนกลาง ส่งผลให้ของเหลวถูกดูดเข้าไปในตัวปั้ม และยางไดอะแฟรม อีกฝั่งหนึ่งถูกผลักออกทำให้ของเหลวที่อยู่ในปั้มถูกผลักออกไปสู่ท่อออกต่อไป

2. เช็ควาล์ว (Check Valve) ทำหน้าที่ในการสร้างแรงดัน
3. ลูกสูบ (Plunger) ทำหน้าที่ในการส่งถ่ายกำลังจากมอเตอร์และชุดเกียร์
4. วาล์วระบายอากาศ (Air Release Valve) ทำหน้าที่ระบายอากาศออกจากห้องของเหลว
5. วาล์วเติมเต็ม (Replenishing Valve) ทำหน้าที่ระบายแรงดันบางส่วนออก เพื่อไม่ให้แผ่นยางไดอะแฟรมยางชำรุดหรือพังเสียหายจากภาระการใช้งานที่สูงเกินไป (Overload)
6 วาล์วตั้งค่าแรงดัน (Pressure Limiting Valve) ทำหน้าที่ตั้งค่าแรงดันของปั้มเพื่อนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ทั้งนี้แผ่นยางไดอะแฟรม (Diaphragm Rubber) เป็นวัสดุที่สำคัญชิ้นหนึ่งสำหรับปั้มไดอะแฟรม สามารถชำรุดหรือเสียหายได้ หากมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และเกินกำลัง จึงจำเป็นต้องมีการเลือกใช้ชนิดยางของยางไดอะแฟรมให้ เหมาะสมกับการใช้งาน รวมถึงรูปร่าง ลักษณะต่างๆ เช่น การเสริมผ้าใบเพื่อให้ยางไดอะแฟรมมีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น, การเลือกใช้แผ่นไดอะแฟรมเทปล่อนเพื่อการทนทานต่อสารเคมีชนิดตัวทำละลายเข้มข้น เป็นต้น